บุคลากรและนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เข้าร่วมการประชุมวิชาการเครือข่ายการศึกษา วิจัย และความสัมพันธ์ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2567 ณ ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2567
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ทองแดง รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ นำทีมคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการเครือข่ายการศึกษา วิจัย และความสัมพันธ์ทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ครั้งที่ 8 พ.ศ.2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2567 โดยมี สำนักวิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมดังกล่าวฯ
การเดินทางไปร่วมการประชุมฯ ของคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้โครงการส่งเสริมการนำเสนอผลงานวิชาการนิสิตและบุคลากรคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานวิชาการของนิสิตและบุคลากรของคณะฯ (2) ส่งเสริมการนำผลงานวิชาการไปเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ก.พ.อ. และ (3) สนับสนุนให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้และศาสตร์ของคณะฯ ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับชาติและนานาชาติ ซึ่งมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ทองแดง รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม เป็นหัวหน้าโครงการ และมีคุณภัทธิญา จินดาคำ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เป็นผู้ประสานงานโครงการ
การประชุมดังกล่าวฯ ได้ดำเนินการขึ้นโดยภาคีเครือข่ายความร่วมมือของมหาวิทยาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทย จำนวน 13 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งความร่วมมือนี้นำมาสู่การดำเนินกิจการต่าง ๆ ทางด้านวิชาการของนิสิต นักศึกษา ในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา อีกทั้งยังเป็นการเปิดเวทีทางวิชาการที่จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านของสังคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่เข้าสู่ยุค Disruption ซึ่งในภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนต้องมีการปรับตัวทั้งในรูปแบบการบริหารงาน การบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความหลากหลายทางด้านความคิดและสามารถนำไปต่อยอดในการศึกษาวิจัยที่จะส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ เผยแพร่สู่สาธารณชน ภายใต้หัวข้อของการจัดงานในครั้งนี้คือ “ภูมิทัศน์ทางการเมืองและการบริหารงานภาครัฐในยุค Disruption” โดยมุ่งเน้น การแลกเปลี่ยน ความรู้และประสบการณ์ด้านวิชาการและการวิจัย มีความมุ่งหวังผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทาง วิชาการในระดับชาติ ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง นิสิต นักศึกษา ทั้ง 13 สถาบัน และสถาบันอื่น ๆ จากทั่วประเทศ โดยมุ่งหวังให้การประชุมในครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้เวทีสำหรับการนำเสนอผลงานวิชาการและงานวิจัยต่อสาธารณะ ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งทางวิชาการแก่นิสิต นักศึกษาทางด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์จากทั่วประเทศ และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและสร้างเครือข่ายทางวิชาการด้วย
รายนามตัวแทนคณาจารย์และนิสิตคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่เข้าร่วมการประชุม, การนำเสนอผลงานทางวิชาการ และการตอบปัญหาทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มีดังนี้
คณะกรรมการการดำเนินงาน
- รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรา พงษ์นิล คณบดีคณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะกรรมการอำนวยการในการจัดประชุมฯ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณภา ทองแดง รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรม ทำหน้าที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิวิพากษ์บทความ ประจำห้องย่อยที่ 7 ด้านการจัดการ การท่องเที่ยว ศิลปะและวัฒนธรรม
ทีมนิสิตตอบปัญหาทางวิชาการ
- ทีมตอบปัญหาทางวิชาการ ทีมที่ 1 ประกอบด้วย คุณสิทธิศักดิ์ หงษ์สุข, คุณภาคิน เครือชะเอม และคุณบัญชา วงชัยนาท โดยมีอาจารย์ผู้ควบคุมทีมคือ อาจารย์ศิวัชฐ์ วรรณโกมล
- ทีมตอบปัญหาทางวิชาการ ทีมที่ 2 ประกอบด้วย คุณพันธณัฐ ขจรจิตร, คุณรณชัย อภัยลุน และคุณวีระศักดิ์ สุขสว่าง โดยมีอาจารย์ผู้ควบคุมทีมคือ ดร.อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ
รายนามผู้นำเสนอบทความทางวิชาการ
- ดร.อนุรัตน์ ฝันถึงภูมิ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “เศรษฐกิจทรัพยากรมนุษย์และแรงงานสัมพันธ์” เรื่อง “การเปรียบเทียบนโยบายความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19” (A Comparative Study of Governments’ Economic Assistance and Relief Policies During the COVID-19 Pandemic)
- ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.วรรณภา ทองแดง, ผู้ช่วยศาตราจารย์ธัญญพัทธ์ มุ่งพัฒนสุนทร, อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม, ดร.สุธินี ชุติมากุลทวี อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมสาธารณะ และนางสาวภัทธิญา จินดาคำ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นำเสนอบทความห้อง “การจัดการการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมชุมชน” เรื่อง “การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์รักษ์โลกชุมชนพระธาตุขิงแกง อำเภอจุน จังหวัดพะเยา” (Social Return on Investment from Upgrading the Eco-Friendly Printed Fabric Product in Phra That Khing Kaeng Community, Chun District, Phayao Province)
- อาจารย์ศิวัชฐ์ วรรณโกมล อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “ความหลากหลายทางสังคมในยุค Disruption: ปัญหา ผลกระทบ และการจัดการ” เรื่อง “ภาพยนตร์เรื่องโรมา: การผลิตซ้ำทางสังคม การเมืองเรื่องชนชั้น และความรุนแรงต่อสตรีในภูมิภาคละตินอเมริกาผ่านสื่อภาพยนตร์”(The Film “Roma”: Social Reproduction, Class Politics, and the Violence against Women in Latin America through Film)
- คุณพิยดา นาโคกูล, คุณมุทิตา อินกรัด, คุณพิณประภา เมฆดั้น, คุณกุลธิดา อินทะรังษี, คุณณิชกานต์ไพ่ขุนทด, คุณศิวกร อินต๊ะภา, คุณนันทพงศ์ ธรรมใจ, คุณพิทักษ์พงศ์ คงเก่ง, คุณกุลริศา บุญเสาร์, คุณภัทรพล กรเวโรจน์, คุณศิริวรรณ รัตนะ, คุณอัญดา บุญสม, คุณณัฏฐธิดา คำใจ, คุณศิริลักษณ์ เเตะต้อย, คุณอภิญญา จันมา, คุณสาวิตรี วงศ์เวียน, คุณศิริพร ก๋อนมูล, คุณประภัสสร ดีใจ และคุณชลพินทุ์ คงวิริยะกิตติกุล นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “อำนาจ การเมือง และการเลือกตั้ง” เรื่อง “สตรีผู้สร้างรากฐานของเศรษฐกิจการเมืองโลกร่วมสมัย” (Feminist Thinkers Who Underpin the Global Political Economy of Our Time)
- คุณจุฑามณี จันทรฤทธิ์, คุณรณชัย อภัยลุน, และคุณอนุรักษ์ บุญสง่า นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “การจัดการการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมชุมชน” เรื่อง “มี่เสวี่ย: ซอฟต์พาวเวอร์ใหม่เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมอาหารจีนในประเทศไทย” (Mixue: The New Soft Power to Spread Chinese Culinary Culture in Thailand)
- คุณวรรณพร หมื่นจร นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คู่ขนานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม นำเสนอบทความห้อง “การจัดการการท่องเที่ยว ศิลปะ และวัฒนธรรมชุมชน” เรื่อง “การปรับภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติอย่างยั่งยืน ตามกรอบSDGs ในเป้าหมายที่15 : กรณีศึกษา บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร” (Ecotourism Landscape Adjustment for Sustainable Environmental and Natural Conservation According to SDG Goal 15: A Case Study of Bung Si Fai, Phichit Province)
- คุณศรัณยู ทับทุ่ม และคุณอาทิตยา จุ้ยด้วง นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศึกษา คู่ขนานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม นำเสนอบทความห้อง “การจัดการชุมชน” เรื่อง “กิจกรรมสร้างความสุขเพื่อผู้สูงอายุโรงเรียนผู้สูงอายุวัดแม่กาห้วยเคียน ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา”( Activities of Happiness for Elders in the Elderly School of Wat Maekahuaykhian, Maeka Subdistrict, Muang, Phayao)
- คุณณัฐกานต์ โตพิทักษ์, คุณดรุณี สาธร, คุณปรารถนา นันตาวงค์, คุณเขมิกา ธีระสำราญ, คุณพีรวิชญ์ อินทะสะระ, คุณภวัต ทองหมื่นศรี, และคุณอัสลินดา ลาเต๊ะ นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต นำเสนอบทความห้อง “เศรษฐกิจทรัพยากรมนุษย์และแรงงานสัมพันธ์” เรื่อง “มิติเศรษฐกิจไทยกับการดำเนินนโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุกยุคนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน (Thailand’s Economic Dimension and the Proactive Economic Diplomacy Strategy during the Administration of Srettha Thavisin)
- คุณคมสัน เอี่ยมสอาด, คุณกฤชตฤณ โค้วอุดมประเสริฐ นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต, คุณโภคิน จันทร์ผ่องใส, และคุณอัฐศราวุฒิ จินาช นิสิตหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การจัดการนวัตกรรมสาธารณะ) นำเสนอบทความห้อง “ความหลากหลายทางสังคมในยุค Disruption: ปัญหา ผลกระทบ และการจัดการ” เรื่อง “ลูกกรงเหล็กแห่งการเมืองแรงกระทบรัฐไทยในอนาคต” (THE THAI POLITICAL DISRUPTIONS AND THEIR FUTURE IMPACTS)