งานเสวนา “Bully เด็กในวันนี้ เป็นสังคมแห่งความรุนแรงในวันหน้า”
ในวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา ได้มีงานเสวนาที่ได้รวบรวมพรรคการเมืองและวิทยกรที่น่าสนใจ ในงานเสวนาที่ชื่อว่า“การ Bully เด็กในวันนี้ เป็นสังคมแห่งความรุนแรงในวันหน้า” ที่จัดโดยทางกลุ่มพลังใหม่ประชาธิปไตย ที่ได้รับการสนุบสนุนการจัดเสวนาจากองค์กร “We Watch เครือข่ายสังเกตการณ์เลือกตั้ง” ณ มหาวิทยาลัยพะเยา
มีตัวแทนจะกลุ่มต่างๆ มาเข้าร่วมงานเสวนา ในช่วงแรกของงานเป็นการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับการ bully ในเด็ก และอุดมการณ์หรือความเชื่อที่ฝังอยู่ และการมองสถานศึกษา และ SOTUS บรรยายโดยนายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ, แอดมินเพจ Anti Sotus, นายธนวัฒน์ วงศ์ไชย ประธานสภานิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นตัวแทนจากสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนท.), นิสิตจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และประธานสโมสรคณะรัฐศาตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาเอง
โดยการปูเรื่องราวการ bully เริ่มต้นจากนายแพทย์เอกภพ เพียรพิเศษ ในเชิงจิตวิทยา ไปจนถึงการมองเด็ก วัยรุ่นในสถานศึกษา ซึ่งนายธนวัฒน์ วงค์ไชย ได้ยกผลสำรวจว่าไทยติดอันดับ 2 ของโลก ที่มีการ bully ในสถานศึกษา พร้อมทั้งระบุว่า ระบบโครงสร้างแบบจัดลำดับชั้นและกฎระเบียบ ในสถาบันการศึกษาของไทย เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้การ bully ในสถานศึกษามีความรุนแรง ประกอบกับการมองเห็นว่าการ Bully กลายเป็นเรื่อง “ปกติ” ในสังคมไทย จึงทำให้การ bully ในสถานศึกษานั้นนอกจากจะร้ายแรงแล้วยังเรื้อรังอีกด้วย ทั้งนี้ นายธนวัฒน์ได้เสนอว่าปัญหาการ bully จะไม่หมดไป แต่สามารถลดทอนความรุนแรงและเรื้อรังของมันได้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสังคมอำนาจนิยม และเราต้องยึดมั่นในหลักการของการเคารพซึ่งกันและกันอยู่เสมอ ไม่ใช่ยึดมั่นเป็นช่วงๆ พร้อมกันนี้หลายๆ คน ก็ได้กล่าวว่า สถานศึกษาเป็นอีกแหล่งที่บ่มเพราะความรุนแรงของอำนาจนิยม
อันดับต่อมา ในช่วงที่สอง ได้มีการเชิญพรรคการเมืองต่างๆ อาทิ ตัวแทนพรรคเพื่อไทยอตีด สส.พะเยา อรุณี ชำนาญยา, พรรคประชาธิปัตย์ อนุพงษ์ มาคำ, พรรคเสรีรวมไทย ดร.พิทักษ์ สันติวงศ์สกุล, พรรคอนาคตใหม่ พรรนิการ์ วานิช ซึ่งเป็นโฆษกพรรค และพรรคสามัญชน ชาติชาย ธรรมโม ว่าที่รองหัวหน้าพรรค
ที่พูดกันในหัวข้อ การ bully ในสังคมอำนาจนิยม พรรคการเมืองต่างๆ ได้แสดงทัศนะการให้คำนิยามและอธิบายที่แตกต่างกันออกไป
- ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ได้กล่าวว่า การ bully นั้นต้องแยกออกจากเรื่องของ SOTUS โดยคำว่า SOTUS นั้นเป็นคำที่มีความหมาย “ดี” แต่ “ผิด” ที่คนนำมาใช้ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ bully ต้องแยก Bully กับ SOTUS ให้ชัดเจน
- ด้านตัวแทนพรรคเสรีรวมไทย ให้ความคิดเห็นว่า การ Bully เกิดจากการหล่อหลอมจากสิ่งแวดล้อมในวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ ทั้งพ่อแม่ สถาบันการศึกษา ระบบSOTUS และได้ยกตัวอย่าง “เพลงประเทศกูมี” มีการตั้งความผิดการทำเพลงทั้งที่ไม่ได้สอบสวน เป็นตัวอย่างการใช่อำนาจนิยมในทางมิชอบ
- ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ได้พูดถึงการเชื่อมโยงเรื่อง Bullyกับอำนาจนิยมว่า โดยให้คำนิยาม Bully แปลว่าคนพาล ซึ่ง “คนพาล” เกิดจากคน “ไม่ดี” ที่เดินทางไปในทางที่ “ชั่ว” และพูดถึงอำนาจนิยมถ้าใช้อำนาจที่มีอยู่ ถูกใช้ไปในทางที่ “ดี” อำนาจนั้นก็จะเกิดประโยชน์ต่อสังคม บ้านเมือง
- ตัวแทนพรรคอนาคตใหม่ ที่เคยเป็นสื่อมวลชนมาก่อน ก็เคยโดนรังแก และเมื่อมาเป็นนักการเมืองก็โดนรังแกในฐานะเป็นนักการเมืองหญิง และเน้นย้ำประเด็นว่าอำนาจของประชาชนถูกครอบงำจากการถูกทำให้กลัวด้วยผู้มีอำนาจและสังคมก็เรียนรู้การเลียผู้มีอำนาจเพื่อความอยู่รอด กล่าวด้วยว่า นายกไม่มีอำนาจเหนือประชาชน ประชาชนคือผู้ที่เลือกรัฐบาลเข้ามาเป็นตัวแทนการบริหารประเทศ เราเองที่เป็นเจ้าของอำนาจและเป็นผู้มอบอำนาจ ดั้งนั้นรัฐบาลไม่มีอำนาจเหนือกว่าเรา
- ส่วนพรรคสามัญชนได้ยกประเด็นการ Bully จากความเป็นภูมิภาค ชาติพันธ์ มักถูก Bully จากโครงสร้างอำนาจ ผ่านการศึกษา และเรามองข้าม และมองคนอย่างไม่เท่าเทียม
สุดท้ายนี้ ได้เปิดพื้นที่ให้ได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและหาวิธีในการแก้ไขปัญหาการ Bully ในสังคมแห่งความรุนแรง จากผู้เข้าร่วมงานเสวนากับผู้บรรยายอย่างสนุกสนานพร้อมทั้งดุเดือนในบางช่วงบางตอนด้วยเช่นกัน อาทิ นายพริษฐ์ วารักษ์ หรือเพนกวิ้น ได้ตั้งคำถาม คุณอนุพงษ์ ตัวแทนพรรคประชาธิปัตย์ ว่าโซตัสมีข้อดีอะไร งานเป็นไปอย่างเป็นกันเอง มีทั้งนิสิต/นักศึกษา ประชาชน อาจารย์ นอกจากนี้แล้วยังมีหน่วยงานจากภาครัฐก็ได้เข้ามาเพื่อสังเหตุการณ์งานเสวนาจนจบงาน